บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ภาษาศาสตร์กับภาษาพระพุทธเจ้า


บทความนี้ ผมเขียนลงครั้งแรกที่ gotoknow มีผู้เข้ามาให้ความเห็นไม่กี่คน จึงขอเก็บมาเผยแพร่ที่นี่ด้วย

เพื่อเป็นประวัติศาสตร์และเพื่อประโยชน์แก่คนรุ่นหลังที่ต้องการศึกษาเรื่องนี้

คนแรก คือ คชินทร์ ดวงรัตนา [08 เมษายน 2552 13:49] เข้ามาให้การสนับสนุน  ซึ่งนานๆ ........จะมีสักคนหนึ่ง

คุณคชินทร์ ดวงรัตนา ให้ความเห็นว่า “ดีมากมากครับ สติมาปัญญาเกิดครับ”   

ปกติแล้ว ผมไม่ค่อยตอบรับคำชม หรือคำสนับสนุน ผมจึงไม่ได้ตอบคุณคชินทร์

คนต่อมา คือ คุณ  Aplang [14 พฤษภาคม 2554 10:41] ซึ่งเป็นพวกที่ชอบเขียนแบบเท่ๆ แต่หาสาระอะไรไม่ได้

คุณ Aplang ให้ความเห็น ดังนี้

เป็นชุดคำอธิบายเพื่อสนับสนุนความเชื่อของตน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมาทุกยุคทุกสมัย ระยะเวลาและความรู้จะเป็นเครื่องพิสูจน์

ผมเดาว่า คุณ Aplang คนนี้ น่าจะได้เรียน หรือได้อ่านปรัชญามาบ้าง ผมก็เรียนมาเหมือนกัน เลยตอบไป ดังนี้ (14 พฤษภาคม 2554 12:21)

ความเชื่อที่ว่า เป็นไปได้หรือเป็นไปไม่ได้อย่างไรในทางวิชาการ?  ถ้ารอเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์จะต้องรออีกกี่ชาติกัน

พิสูจน์กันชาตินี้ เดี๋ยวนี้ เวลานี้ไม่ดีกว่าหรือ

หรือไม่มีวิธีการที่จะพิสูจน์ ก็เขียนเพ้อไปตามอารมณ์. ทำแต่เพียงวิพากษ์ อย่างไม่มีหลักฐานทางวิชาการเท่านั้นหรือ..

คนต่อไปคือ คุณพร [14 พฤษภาคม 2554 16:32] ซึ่งให้ความเห็น ดังนี้

ในเมื่อมี ตัวตน เกิดขึ้น คุณจะอธิบาย สังโยชน์ 10 ข้อ สักยาทิฏฐิ และอุปาทาน เกี่ยวกับการละตัวตน อย่างไร

ในพระไตรปิฏกพระพุทธเจ้าท่านก็กล่าวไว้ถึง มีตัวตน และไม่มีตัวตน และมีการกล่าวไม่ให้เชื่อเรื่องภูตผี ดังนั้นจิตจึงต้องเป็นอนัตตา

คุณเรียนด้านภาษาศาสน์มา แต่มันจะมาวัดทางด้านภาษาของพระพุทธเจ้าไม่ได้หรอก ท่านกล่าวเพื่อให้คนธรรมดาเข้าใจ ไม่จำเป็นต้องคิดลึกขนาดนั้น

คุณพรคนนี้ แกคิดว่า แกมีความรู้มาก จึงเขียนมาอย่างนั้น  เขียนมาอย่างนั้นเข้าทางผม จึงต้องโดนแน่ๆ ผมก็ตอบไปดังนี้ (14 พฤษภาคม 2554 17:58)

ตัวอักษรสีน้ำตาลค่อนข้างแดงคือข้อความของผม ตัวอักษรสีน้ำเงินเป็นของคุณพร

เรียน คุณพร [IP: 110.164.163.2]

ไปอ่านใหม่ให้ความรู้แน่นๆ กว่านี้ก่อน แล้วค่อยมาถามใหม่จะไม่ได้หรือ

พวกมือใหม่หัดขับนี่  ขอร้องอย่าเพิ่งเข้ามาในบันทึกนี้เลย  มันเข้าใจยาก ต้องเรียนได้ระดับจริงๆ จึงจะพอเข้าใจกันได้ แต่เข้ามาแล้ว ก็จะสงเคราะห์ตอบให้บ้างก็แล้วกัน

ในเมื่อมี ตัวตน เกิดขึ้น คุณจะอธิบาย สังโยชน์ 10 ข้อ สักยาทิฏฐิ และอุปาทาน เกี่ยวกับการละตัวตน อย่างไร

ตรงนี้ ในพระไตรปิฎกก็มีอธิบายกันโดยทั่วไป ไปหาอ่านเองเอง

ในพระไตรปิฏกพระพุทธเจ้าท่านก็กล่าวไว้ถึง มีตัวตน และไม่มีตัวตน

พระพุทธเจ้าไม่เคยทรงกล่าวเรื่อง "ไม่มีตัวตน" อันนี้พุทธวิชาการ "มั่ว" กันเอง  เพื่อให้เข้ากับวิทยาศาสตร์ เพราะ ไปเชื่อตามวิทยาศาสตร์ว่า ตายแล้วเกิดไม่มี  คนเราเกิดชาติเดียว

คุณอ่านที่ผมเขียนอยู่นี่ คุณไม่มีตัวตนหรือไง  ถ้าคุณไม่มีตัวตน คุณจะมานั่งอ่านบล็อกนี้ได้ยังไง

คุณลองให้ใครมาตบหน้าคุณสักทีหนึ่งก็ได้  มันเจ็บไหม ถ้ามันเจ็บ มันก็ต้องมีตัวตน

ในอนัตตลักขณสูตร มีข้อความว่า  ขันธ์ห้า "ไม่ใช่ตัวตนของเรา" ข้อความนี้แหละ พุทธวิชาการชอบไปแปลว่า "ไม่มีตัวตน"

คำว่า "ไม่ใช่ตัวตนของเรา" ชี้ชัดๆ ว่า ตัวตนของเรามี

ตัวตนที่มีนั้น ยังต้องถูกปรุงแต่งด้วยบุญ ด้วยบาป จึงเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

เมื่อตัวตนที่ว่านี้ ปฏิบัติธรรมจนถึงขีดขั้นแล้ว  ขันธ์ห้าก็จะเปลี่ยนเป็นธรรมขันธ์ ที่เป็นนิจจัง สุขัง อัตตา

และมีการกล่าวไม่ให้เชื่อเรื่องภูตผี ดังนั้นจิตจึงต้องเป็นอนัตตา

มันจะไปเกี่ยวกันอย่างไร ไม่ให้เชื่อเรื่องภูตผี ไปเกี่ยวกับจิตเป็นอนัตตาอย่างไร  ขันธ์ห้าเป็นอนัตตา  จิตเป็นส่วนหนึ่งของขันธ์ห้า เป็นอนัตตาก็ถูกแล้ว

คุณเรียนด้านภาษาศาสน์มา แต่มันจะมาวัดทางด้านภาษาของพระพุทธเจ้าไม่ได้หรอก ท่านกล่าวเพื่อให้คนธรรมดาเข้าใจ ไม่จำเป็นต้องคิดลึกขนาดนั้น

คนเรียนภาษาศาสตร์ไม่ใช่คนธรรมดาหรือไง  ผมเป็นคนพิเศษขึ้นมาเพราะผมเรียนภาษาศาสตร์มาหรือไง

คุณโผล่มาจากหลังเขาของเทือกเขาไหนหนอนี่ ...

คัมภีร์ทุกคัมภีร์ไม่ว่าศาสนาใดๆ เป็นภาษา  เราก็ต้องเอาภาษาไปวิเคราะห์  ที่นี้ภาษาบาลี ภาษาไทยน่ะ ไม่ใช่เป็นวิทยาศาสตร์  มันจึงหามาตรฐานเพื่อวิเคราะห์กันยาก

ภาษาศาสตร์ (Linguistics) เป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ ที่ศึกษาเรื่องภาษา วิชาภาษาศาสตร์จึงมีเครื่องมือ มีเกณฑ์ที่สามารถวัดกันในทางวิชาการได้

โอย.............กลุ้ม..





จิตเป็นนามธรรมไม่ได้

ในบทความก่อนหน้านี้ ผมได้กล่าวไปแล้วว่า งานเขียนทางวิชาการของพุทธวิชาการ/นักปริยัติเกือบจะทั้งหมดร้อยละร้อยเลยก็ว่าได้ เห็นผิดเพี้ยนไปจากศาสนาพุทธว่า "จิตเป็นนามธรรม"

ความเห็นที่ผิดเพี้ยนของพุทธวิชาการดังกล่าว  เป็นเพราะพวกเขาเหล่านั้นได้รับอิทธิพลจากวิทยาศาสตร์เก่าแบบกลไก/แยกส่วน/ลดทอน

ผมอธิบายถึงการทำให้จิตเป็นนามธรรมของพุทธวิชาการไปแล้วคือ
1) แปลงศัพท์ให้ผิดเพี้ยน
2) ให้ความหมายที่แปลกปลอม

หลังจากนั้น ผมจึงนำหลักฐานมายืนยันว่า 3) จิตไม่เป็นนามธรรมหลักฐานจากพระไตรปิฎก

หลักฐานชิ้นต่อไปของผมก็คือ 4) จิตเป็นนามธรรมไม่ได้หลักฐานจากภาษาศาสตร์

ในทางภาษาศาสตร์นั้น ตำแหน่งกับหน้าที่ของคำมีความผูกพันตามกฎของไวยากรณ์หรือหลักภาษาของภาษานั้นๆ

พูดให้เข้าใจง่ายๆ อีกนิดหนึ่งก็คือ ตำแหน่งในประโยคอยู่ที่ใดจะบอกหน้าที่ของคำ หน้าที่ของคำจะเป็นตัวบ่งบอกว่า ความหมายของคำๆ นั้น ควรมีความหมายว่าอย่างไร

อาจารย์ผมที่ธรรมศาสตร์ จะเน้นเสมอว่า “เมื่อมีตำแหน่ง ก็ต้องมีหน้าที่” เน้นมากขนาดไหนก็คิดเอาเอง เพราะ ผมยังจำใส่สมองมาถึงปัจจุบันนี้

คำแต่ละคำ ถ้ายังไม่ประกอบเข้าเป็นประโยค เราจะไม่รู้ว่า คำนั้นหมายความว่าอย่างไร 

ยกตัวอย่างเช่น  คำว่า "ขัน"  ถ้าอยู่โดดๆ  เราจะบอกไม่ได้เลยว่า หมายความว่าอย่างไร เพราะ คำๆ หนึ่งมีหลายความหมาย

ตำแหน่งของคำนาม ตำแหน่งของคำกริยา ตำแหน่งของคำคุณศัพท์ (Adjective) จะมีตำแหน่งที่แน่นอน คำคุณศัพท์จะไม่สามารถไปอยู่ในตำแหน่งของคำนามได้

ถ้าต้องการสื่อสารถึงความหมายของคำคุณศัพท์ ก็จะต้องแปลงคำคุณศัพท์นั้นให้เป็นคำนามเสียก่อน ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Abstract Nouns

ยกตัวอย่างเช่น
This man is good.  ผู้ชายคนนี้เป็นคนดี
This flower is beautiful. ดอกไม้นี้งาม[1]

ประโยคตัวอย่าง 2 ประโยคข้างต้นนั้น  ผู้สื่อสารต้องการกล่าวถึงประธานเป็นหลัก คือ ต้องการกล่าวถึง ผู้ชาย กับ ดอกไม้ 

โดยกล่าวว่า ผู้ชายเป็นคนดี  ส่วนดอกไม้ก็มีความงาม  คำว่า "ดี/good”, กับคำว่า "งาม/beautifulนั้น เป็น คำคุณศัพท์/adjective

ทีนี้สมมุติว่า ผู้สื่อสารต้องการที่จะกล่าวถึง "ตัวความดี" หรือ "ตัวความงาม"  ซึ่งจะต้องนำเอาคำว่า "ดี" และ "งาม" มาเป็นประธานของประโยค

ในทางไวยากรณ์หรือหลักของภาษา จะนำคำว่า ดีหรือ งามมาเป็นประธานของประโยคโดยตรงเลยไม่ได้  จะต้องแปลงคำคุณศัพท์ให้เป็นคำนามเสียก่อน

ถ้าเป็นภาษาไทยก็จะเติมคำว่า ความหรือ การเข้าไปข้างหน้าคำเหล่านั้น เช่น ดี เป็น ความดี งาม เป็นความงาม เป็นต้น

ยกตัวอย่างเช่น
ความดีเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ
ความงามเป็นสิ่งที่ผู้หญิงต้องการ

ประโยคตัวอย่าง 2 ประโยคข้างต้นนั้น จะเห็นว่า ผู้สื่อสารต้องกล่าวถึง ความดี กับ ความงาม เป็นหลัก

จึงได้แปลงคำคุณศัพท์ให้เป็นคำนามและนำไปเป็นประธานของประโยค

จากตัวอย่างข้างต้น เมื่อมีการนำคำว่า นามไปผสมกับกับคำว่า ธรรมเป็น นามธรรมโดยเจตนาของพุทธวิชาการ 

จึงทำให้ผู้ที่ไม่สันทัดในความละเอียดอ่อนของภาษา หลงเชื่อโดยเข้าใจผิดไปว่า นาม หรือ ใจ/จิต/วิญญาณ มีลักษณะเช่นเดียวกับ Abstract Nouns ในภาษา

จึงมีการบรรยายสภาพของ ใจ/จิต/วิญญาณ ให้เป็นสภาวะเดียวกันกับ Abstract Nouns ที่เกิดจากคำคุณศัพท์

การกระทำเช่นนั้น เป็นความผิดพลาดอย่างยิ่ง เพราะ

นามธรรมเป็นมโนทัศน์ที่อยู่ในภาษา  สิ่งที่เป็นธรรมชาติจะเป็นนามธรรมไม่ได้

การที่จะอภิปรายให้เห็นว่า ใจ/จิต/วิญญาณ เป็นนามธรรมไม่ได้ เพราะ ใจ/จิต/วิญญาณเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง

ผู้เขียนขอยกตัวอย่างเปรียบเทียบกับการสอนเรื่องรูปทรงในวิชาคณิตศาสตร์เสียก่อน แล้วจึงกลับมาอธิบายว่า ใจ/จิต/วิญญาณ ไม่เป็นนามธรรมอย่างไร ดังนี้

ในทางธรรมชาติ วัตถุทุกชนิดล้วนแต่มี  3  มิติทั้งสิ้น[2]  ยกตัวอย่างเช่น โต๊ะ ลูกฟุตบอล เป็นต้น แต่ในการเรียนคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวกับรูปทรงต่างๆ นั้น จะสื่อสารกันผ่านหนังสือเรียน หรือกระดานดำ หรือจอคอมพิวเตอร์ซึ่งมีระนาบเป็น  2  มิติ

ดังนั้น  ในการสอนเรื่องรูปทรงจึงจะสอนได้แต่เพียงรูปวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ฯลฯ ซึ่งเป็น  2  มิติทั้งสิ้น 

เมื่อต้องการที่จะเสนอสิ่งที่เป็นรูปทรง  3  มิติ ก็จะมีการทำเส้น แสง หรือเงาให้ดูว่าวัตถุเหล่านั้นเป็นของ  3  มิติ โดยใช้วิธีการหลอกสายตาของมนุษย์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว รูปทรงเหล่านั้นยังเป็น  2  มิติเช่นเดิม

ในกรณีที่ผู้สอนต้องการให้ผู้เรียนเข้าใจสิ่งที่เป็น  3  มิติ มีหนทางเดียวเท่านั้นคือ ต้องให้ผู้เรียนเห็นสิ่งเหล่านั้นด้วยตาของผู้เรียนเอง

โดยอาจจะนำวัตถุเหล่านั้นมาให้ดูในห้อง ถ้าสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนศึกษามีขนาดไม่ใหญ่นัก  แต่ถ้าสิ่งนั้นมีขนาดใหญ่มาก ก็ต้องพาผู้เรียนไปศึกษาถึงสถานที่จริง

จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นว่า ในการสื่อสารของมนุษย์นั้น มีข้อจำกัดมากมาย ผู้สื่อสารจะนำของจริงมาให้ผู้รับสารได้ในจำนวนที่จำกัด โดยส่วนใหญ่แล้ว มนุษย์รับรู้จากภาพตัวแทน (Representative) ทั้งนั้น

ในทางภาษาก็เช่นเดียวกัน เมื่อต้องการสื่อสารถึงสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น ความดี ความงาม เป็นต้น มนุษย์ก็ต้องตั้งศัพท์ขึ้นมาเป็นตัวแทนสิ่งที่เป็นนามธรรมเหล่านั้น

แต่ ความหมายของคำศัพท์เหล่านั้น จะต้องใช้อยู่ในขอบเขตของภาษา จะนำคุณสมบัติเหล่านั้นไปใช้กับสิ่งที่เป็นธรรมชาติไม่ได้

ในกรณีของ ใจ/จิต/วิญญาณ นั้น ได้มีการจัดประเภทให้อยู่กับรูปหรือร่างกาย คือ เป็นขันธ์ด้วยกัน

ในอนัตตลักขณสูตรได้กล่าวไว้ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็น อนิจจัง/ทุกขัง/อนัตตา มีสภาวะเกิดดับๆ อยู่ตลอดเวลา

นอกจากนั้นแล้ว มีพุทธพจน์จำนวนมากที่กล่าวว่า นามรูปเกิดดับซึ่งก็หมายถึงว่า การเกิดดับเกิดขึ้นทั้งร่างกายและใจ/จิต/วิญญาณ

สภาวะการเกิดดับได้ของใจ/จิต/วิญญาณเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่า ใจ/จิต/วิญญาณไม่ได้เป็นนามธรรม เพราะ สิ่งที่เป็นนามธรรมจะมีสภาวะเกิดดับเช่นนี้ไม่ได้

ขอกลับมาที่ความหมายของคำว่า ความดีและความงาม

ความหมายของความดีและความงามนั้น จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงไป อาจจะกล่าวได้ว่า ความหมายของความดีและความงามนั้นคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลง

สิ่งที่เปลี่ยนแปลงเลื่อนไหลก็คือ ระดับของความดีและความงามที่ได้รับการตัดสินจากมนุษย์  เช่น กรรมการในเวทีการประกวดนางสาวไทย บางคนอาจจะเห็นว่า นางสาวไทยของปีนี้ สวยหรืองามกว่านางสาวไทยของปีที่แล้ว เป็นต้น

แต่ความหมายของคำว่า ความงามก็ไม่ได้เปลี่ยนไปตามความงามของนางสาวไทย เป็นต้น

สรุป

นาม-ใจ/จิต/วิญญาณ มีลักษณะเป็นวัตถุเช่นเดียวกับ รูป-กาย คือ เป็นองค์ประกอบของขันธ์ 5 ด้วยกัน มีลักษณะร่วมกันคือ เกิดขึ้น ดับไป อยู่ตลอดเวลา

การเกิดขึ้นดับไปนั้น แสดงให้เห็นว่า ใจ/จิต/วิญญาณ เป็นวัตถุเช่นเดียวกับร่างกาย แตกต่างกันในเรื่องของความหยาบละเอียด

ร่างกายมีความหยาบมากจึงสามารถสัมผัสด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า ส่วน ใจ/จิต/วิญญาณ เป็นสิ่งที่ละเอียดมาก จะสัมผัสได้จากตาของกายภายในเท่านั้น

นาม-ใจ/จิต/วิญญาณ จะมีความหมายในลักษณะเดียวกับ นามธรรม/Abstract noun ไม่ได้ 

เนื่องจากนามธรรมเป็นมโนทัศน์ที่อยู่ในภาษา จึงต้องใช้อยู่ในขอบเขตของภาษาเท่านั้น คือ ใช้เมื่อต้องการสื่อสารความหมายของ Abstract noun ไม่ควรนำมโนทัศน์ของภาษามาใช้กับสิ่งที่เป็นธรรมชาติ

การตีความว่า นาม-ใจ/จิต/วิญญาณเป็นนามธรรมของพุทธวิชาการ  เกิดจากพุทธวิชาการเชื่อวิทยาศาสตร์เก่ามากกว่าพระไตรปิฎก จึงเป็นการตีความให้สอดคล้องกับความคิดความเชื่อของตนเอง 

พุทธศาสนิกชนอื่นๆ หลงเชื่อตามไป เพราะ เชื่อถือตัวพุทธวิชาการ และไม่มีความรู้ในทางภาษาศาสตร์เพียงพอ ที่จะวิเคราะห์ความผิดพลาดของพุทธวิชาการเหล่านั้นได้

เชิงอรรถ
[1] ภาษาบาลีกับภาษาอังกฤษเป็นภาษาในตระกูลเดียวกัน คือ ตระกูลอินโดยูโรเปี้ยน และมีการใช้โครงสร้างประโยคแบบดังกล่าวมาก 

ส่วนภาษาไทยเป็นภาษามีการใช้โครงสร้างประโยคแบบนี้ไม่มากนัก จึงขอยกตัวอย่างเป็นภาษาอังกฤษประกอบ

[2] เมื่อพิจารณาด้วยหลักการของฟิสิกส์ใหม่ เช่น ทฤษฎีสัมพัทธภาพ เป็นต้น วัตถุจะมีตั้งแต่ 4 มิติขึ้นไป ในกรณีของทฤษฎีทฤษฎีสัมพัทธภาพ วัตถุมี 4 มิติโดยเพิ่มมิติเวลาอีก 1 มิติ


ส่วนทฤษฎีอื่นๆ เช่น ทฤษฏีสตริง (String theory) วัตถุอาจจะมีถึง 11 มิติก็ได้ มิติแต่ตั้งลำดับที่ 4 ขึ้นไป ไม่สามารถสัมผัสด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า



ความหมายที่แปลกปลอม


ในบทความก่อนหน้านี้ ผมได้กล่าวไปแล้วว่า งานเขียนทางวิชาการของพุทธวิชาการ/นักปริยัติเกือบจะทั้งหมดร้อยละร้อยเลยก็ว่าได้

เห็นผิดเพี้ยนไปจากศาสนาพุทธว่า "จิตเป็นนามธรรม

ความเห็นที่ผิดเพี้ยนของพุทธวิชาการดังกล่าว  เป็นเพราะพวกเขาเหล่านั้นได้รับอิทธิพลจากวิทยาศาสตร์เก่าแบบกลไก/แยกส่วน/ลดทอน

ผมได้แนะนำวิธีการของพุทธวิชาการไปแล้วว่า ขั้นที่หนึ่งคือ ใช้ศัพท์ให้ผิดเพี้ยนก่อนเป็นประการแรก  ขั้นต่อมาก็คือ  ให้ความหมายให้แปลกปลอม

การแปลงคำว่า นามไปเป็น นามธรรมนั้น  ถ้ายังมีการตีความเช่นเดิม ก็ไม่ส่งผลเสียอะไรมากนัก

แต่การแปลงคำนั้น ไม่ได้เกิดจากความผิดพลาด หรือเกิดจากอุบัติเหตุ แต่เกิดจากเจตนาที่จะตีความคำว่า "นาม"  เสียใหม่ ให้เข้ากับวิทยาศาสตร์เก่า

ดังนั้น  "ใจ/จิต/วิญญาณ" ซึ่งเป็นวัตถุเช่นเดียวกับรูป แต่ละเอียดกว่ากันมากเท่านั้น  ก็กลายเป็น นามธรรมซึ่งหมายถึงว่า "ใจ/จิต/วิญญาณ" ไม่มี

เนื่องจากตามความหมายในทางภาษาแล้ว "นามธรรม" ไม่มีจริงๆ ในโลกของวัตถุ เป็นแต่เพียงคำในภาษาเท่านั้น

นอกจากจะตั้งศัพท์ใหม่แล้ว  เปลี่ยนความหมายให้แตกต่างไปจากเดิมแล้ว  พุทธวิชาการยังเริ่มกระบวนการทำให้เข้มข้นขึ้นไปอีกก็คือ  ทำให้ "นาม" หรือ "ใจ/จิต/วิญญาณ" ซึ่งจะต้องเกิดมาพร้อมกับ "รูป" หรือ กายนั้น 

ให้มีความหมายตรงกันข้ามกัน  คือ รูปธรรมตรงกันข้ามกับนามธรรม

ดูหลักฐานได้จากความหมายของคำว่า “นาม, นามธรรม, รูป, รูปธรรม” ในพจนานุกรมฉบับปัจจุบัน ดังนี้

รูป, รูป– [รูบ, รูบปะ–] น. สิ่งที่รับรู้ได้ด้วยตา เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ,

รูปธรรม  [รูบปะทํา] น. สิ่งที่รู้ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่สามารถสัมผัสได้ด้วยกาย, คู่กับ นามธรรม คือ สิ่งที่รู้ได้เฉพาะทางใจเท่านั้น

นาม, นาม [นามมะ] น. สิ่งที่ไม่ใช่รูป คือ จิตใจ, คู่กับรูป. (ป.).

นามธรรม [นามมะทํา] น. สิ่งที่ไม่มีรูป คือ รู้ไม่ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย รู้ได้เฉพาะทางใจเท่านั้น, คู่กับ รูปธรรม. (ส.; ป. นามธมฺม).

ตามความหมายดั้งเดิมที่ปรากฏในปฏิจจสมุปบาทนั้น  นามรูปไม่ได้มีความหมายที่ตรงกันข้ามกัน  พระพุทธเจ้ากล่าวถึงเพียงแต่ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมีและ เพราะนามรูปเป็นปัจจัย  สฬายตนะจึงมีเท่านั้น

นั่นก็แสดงว่า นามกับรูปจะต้องมีลักษณะที่เหมือนกันรวมกันอยู่  พระพุทธองค์ถึงทรงเรียกรวมกันอย่างนั้น 

ไม่ได้เป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับอย่างที่พุทธวิชาการตีความ

สิ่งที่ส่งผลเสียมากที่สุดก็คือ  การที่พุทธวิชาการทำให้มีการตีความไปว่าใจ/จิต/วิญญาณเป็นนามธรรม และสิ่งที่เป็นนามธรรมนั้น ไม่มีอยู่จริง

จึงมีการเข้าใจไปว่า มนุษย์เมื่อตายไปแล้วก็สูญไปเลย ซึ่งเข้ากับหลักการสำคัญของวิทยาศาสตร์เก่าได้เป็นอย่างดี เพราะ วิทยาศาสตร์เก่าเชื่อว่า มนุษย์เกิดมาเพียงชาติเดียวเท่านั้น

จิตไม่เป็นนามธรรมหลักฐานจากพระไตรปิฎก

อันที่จริงแล้ว การเกิดดับอยู่ทุกขณะของใจ/จิต/วิญาณดังพุทธพจน์ที่ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวันนั้น มิได้เกิดกับใจ/จิต/วิญญาณเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

แต่เกิดกับรูปหรือร่างกายเช่นเดียวกัน ซึ่งอาจจะดูหลักฐานได้จากหลักของปฏิจจสมุปบาท

ดังนั้น ถ้าร่างกายเป็นวัตถุ ใจ/จิต/วิญญาณก็ควรที่จะเป็นวัตถุด้วย แต่เพียงมีความละเอียดกว่าร่างกายเท่านั้น

หรืออาจจะกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า รูปหรือร่างกายมีความหยาบ ส่วนใจ/จิต/วิญญาณมีความละเอียดมาก จนกระทั่ง หู ตา จมูก ลิ้น และกายไม่อาจจะสัมผัสได้

แนวคิดที่ว่ากายและจิตเป็นวัตถุด้วยกัน แต่หยาบละเอียดแตกต่างกันนั้น ยังคงอยู่ในแนวคิดของปรัชญาสางขยะและโยคะ อาจารย์สุนทร ณ รังษี  กล่าวไว้หนังสือเล่มหนึ่งว่า

อนึ่ง พึงเข้าใจไว้ ณ ที่นี้ว่า จิตตามทรรศนะของปรัชญาสางขยะและโยคะนั้น มีสถานะเป็นวัตถุ มิใช่เป็นนามธรรมอย่างที่เข้าใจกันทั่วไป

แต่เป็นวัตถุที่ประณีตและละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง จนเราไม่สามารถจะรับรู้ในความมีอยู่ของมันได้ด้วยประสาทรับสัมผัส

ตรงนี้ขอยืนยันด้วยวิชาธรรมกายด้วยว่า จิตนั้น เป็นวัตถุจริง แต่ละเอียดมากกว่าเท่านั้นเอง

เพื่อให้เข้าใจถึงลักษณะหยาบละเอียดของกายกับ ใจ/จิต/วิญญาณผู้เขียนขอยกด้วยอย่างด้วยการเปรียบเทียบกับประเภทของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จำนวน 7 ประเภท ดังนี้

1) รังสีแกมมา (Gamma ray) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นน้อยกว่า 0.01 นาโนเมตร โฟตอนของรังสีแกมมามีพลังงานสูงมากกำเนิดจากแหล่งพลังงานนิวเคลียร์ เช่น ดาวระเบิดหรือระเบิดปรมาณูเป็นอันตรายมากต่อสิ่งมีชีวิต

2) รังสีเอ็กซ์ (X-ray) มีความยาวคลื่น 0.01-1นาโนเมตร มีแหล่งกำเนิดในธรรมชาติมาจากดวงอาทิตย์  เราใช้รังสีเอ็กซ์ในทางการแพทย์เพื่อส่องผ่านเซลล์เนื้อเยื่อ แต่ถ้าได้ร่างกายได้รับรังสีนี้มากๆ ก็จะเป็นอันตราย

3) รังสีอุลตราไวโอเล็ต (Ultraviolet radiation) มีความยาวคลื่น1-400 นาโนเมตร  รังสีอุลตราไวโอเล็ตมีอยู่ในแสงอาทิตย์  เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย  แต่หากได้รับมากเกินไปก็จะทำให้ผิวไหม้และอาจทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง

4) แสงที่ตามองเห็น (Visible light) มีความยาวคลื่น 400700 นาโนเมตร  พลังงานที่แผ่ออกมาจากดวงอาทิตย์ ส่วนมากเป็นรังสีในช่วงนี้  แสงแดดเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของโลกและยังช่วยในการสังเคราะห์แสงของพืช

5) รังสีอินฟราเรด (Infrared radiation) มีความยาวคลื่น700 นาโนเมตร1 มิลลิเมตร  โลกและสิ่งชีวิตแผ่รังสีอินฟราเรดออกมา  ก๊าซเรือนกระจก เช่น คาร์บอนไดออกไซด์และไอน้ำในบรรยากาศ  ดูดซับรังสีนี้ไว้ ทำให้โลกมีความอบอุ่นเหมาะกับการดำรงชีวิต

6) คลื่นไมโครเวฟ (Microwave) มีความยาวคลื่น 1 มิลลิเมตร10 เซนติเมตรใช้ประโยชน์ในด้านโทรคมนาคมระยะไกล  นอกจากนั้น  ยังนำมาประยุกต์สร้างพลังงานในเตาอบอาหาร

7) คลื่นวิทยุ (Radio wave) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นมากที่สุด  คลื่นวิทยุสามารถเดินทางผ่านชั้นบรรยากาศได้  จึงถูกนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการสื่อสารโทรคมนาคม

ในจำนวน คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จำนวน 7 ประเภทดังกล่าว มนุษย์สามารถเห็นได้ประเภทเดียวคือ แสงที่ตามองเห็น (Visible light) 

นอกจากนั้น สายตาของมนุษย์ไม่สามารถมองเห็นได้

คลื่นต่างๆ จะมีขนาดความยาวของคลื่นไม่เท่ากัน ความสั้นยาวของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่างๆ นั้น ก็เปรียบเทียบได้กับความหยาบ ความละเอียดของรูปกับนามในศาสนาพุทธนั่นเอง

จากที่อธิบายมาในหัวข้อนี้ จะเห็นได้ว่า ในพระไตรปิฎก "นาม" กับ "รูป" นั้น มีลักษณะร่วมกันอยู่ คือ เกิดดับได้เช่นเดียวกัน 

ในพระไตรปิฎกไม่มีคำว่าว่า "นามธรรม" กับ "รูปธรรม"  และ "นาม" กับ "รูป" ไม่ได้มีลักษณะที่ตรงกันข้ามกัน  แต่มีลักษณะที่จะต้องเกิดด้วยกัน  

ความผิดเพี้ยนจากความหมายเดิมของคำว่า "นาม" กับ "รูป" เกิดจากการตีความของพุทธวิชาการที่สมาทานในวิทยาศาสตร์เก่าแบบกลไก/แยกส่วน/ลดทอน

ปัจจุบันนี้ องค์ความรู้ของวิทยาศาสตร์เก่าแบบกลไก/แยกส่วน/ลดทอนได้ถูกวิทยาศาสตร์รุ่นน้องคือ ฟิสิกส์ใหม่โค่นไปหมดแล้ว 

จากที่เป็นเสาหลักค้ำความจริงของโลก  ก็เหลือเพียงเป็นความจริงแคบๆ เฉพาะที่เท่านั้น  พุทธวิชาการเหล่านั้น ก็หน้าแตกไปตามระเบียบ