บทความนี้
ผมเขียนลงครั้งแรกที่ gotoknow
มีผู้เข้ามาให้ความเห็นไม่กี่คน จึงขอเก็บมาเผยแพร่ที่นี่ด้วย
เพื่อเป็นประวัติศาสตร์และเพื่อประโยชน์แก่คนรุ่นหลังที่ต้องการศึกษาเรื่องนี้
คนแรก
คือ คชินทร์ ดวงรัตนา [08 เมษายน 2552 13:49] เข้ามาให้การสนับสนุน ซึ่งนานๆ ........จะมีสักคนหนึ่ง
คุณคชินทร์
ดวงรัตนา ให้ความเห็นว่า “ดีมากมากครับ สติมาปัญญาเกิดครับ”
ปกติแล้ว
ผมไม่ค่อยตอบรับคำชม หรือคำสนับสนุน ผมจึงไม่ได้ตอบคุณคชินทร์
คนต่อมา
คือ คุณ Aplang [14 พฤษภาคม 2554 10:41] ซึ่งเป็นพวกที่ชอบเขียนแบบเท่ๆ
แต่หาสาระอะไรไม่ได้
คุณ
Aplang ให้ความเห็น ดังนี้
เป็นชุดคำอธิบายเพื่อสนับสนุนความเชื่อของตน
ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมาทุกยุคทุกสมัย
ระยะเวลาและความรู้จะเป็นเครื่องพิสูจน์
|
ผมเดาว่า
คุณ Aplang
คนนี้ น่าจะได้เรียน หรือได้อ่านปรัชญามาบ้าง ผมก็เรียนมาเหมือนกัน
เลยตอบไป ดังนี้ (14 พฤษภาคม 2554 12:21)
ความเชื่อที่ว่า เป็นไปได้หรือเป็นไปไม่ได้อย่างไรในทางวิชาการ? ถ้ารอเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์จะต้องรออีกกี่ชาติกัน
พิสูจน์กันชาตินี้ เดี๋ยวนี้ เวลานี้ไม่ดีกว่าหรือ
หรือไม่มีวิธีการที่จะพิสูจน์ ก็เขียนเพ้อไปตามอารมณ์. ทำแต่เพียงวิพากษ์
อย่างไม่มีหลักฐานทางวิชาการเท่านั้นหรือ..
|
คนต่อไปคือ
คุณพร [14 พฤษภาคม 2554 16:32] ซึ่งให้ความเห็น ดังนี้
ในเมื่อมี ตัวตน เกิดขึ้น คุณจะอธิบาย สังโยชน์ 10 ข้อ
สักยาทิฏฐิ และอุปาทาน เกี่ยวกับการละตัวตน อย่างไร
ในพระไตรปิฏกพระพุทธเจ้าท่านก็กล่าวไว้ถึง มีตัวตน และไม่มีตัวตน
และมีการกล่าวไม่ให้เชื่อเรื่องภูตผี ดังนั้นจิตจึงต้องเป็นอนัตตา
คุณเรียนด้านภาษาศาสน์มา
แต่มันจะมาวัดทางด้านภาษาของพระพุทธเจ้าไม่ได้หรอก ท่านกล่าวเพื่อให้คนธรรมดาเข้าใจ
ไม่จำเป็นต้องคิดลึกขนาดนั้น
|
คุณพรคนนี้
แกคิดว่า แกมีความรู้มาก จึงเขียนมาอย่างนั้น
เขียนมาอย่างนั้นเข้าทางผม จึงต้องโดนแน่ๆ ผมก็ตอบไปดังนี้ (14 พฤษภาคม
2554 17:58)
ตัวอักษรสีน้ำตาลค่อนข้างแดงคือข้อความของผม
ตัวอักษรสีน้ำเงินเป็นของคุณพร
เรียน คุณพร [IP: 110.164.163.2]
ไปอ่านใหม่ให้ความรู้แน่นๆ กว่านี้ก่อน
แล้วค่อยมาถามใหม่จะไม่ได้หรือ
พวกมือใหม่หัดขับนี่
ขอร้องอย่าเพิ่งเข้ามาในบันทึกนี้เลย
มันเข้าใจยาก ต้องเรียนได้ระดับจริงๆ จึงจะพอเข้าใจกันได้ แต่เข้ามาแล้ว
ก็จะสงเคราะห์ตอบให้บ้างก็แล้วกัน
ในเมื่อมี ตัวตน เกิดขึ้น คุณจะอธิบาย สังโยชน์ 10 ข้อ
สักยาทิฏฐิ และอุปาทาน เกี่ยวกับการละตัวตน อย่างไร
ตรงนี้ ในพระไตรปิฎกก็มีอธิบายกันโดยทั่วไป ไปหาอ่านเองเอง
ในพระไตรปิฏกพระพุทธเจ้าท่านก็กล่าวไว้ถึง มีตัวตน และไม่มีตัวตน
พระพุทธเจ้าไม่เคยทรงกล่าวเรื่อง "ไม่มีตัวตน"
อันนี้พุทธวิชาการ "มั่ว" กันเอง
เพื่อให้เข้ากับวิทยาศาสตร์ เพราะ ไปเชื่อตามวิทยาศาสตร์ว่า
ตายแล้วเกิดไม่มี คนเราเกิดชาติเดียว
คุณอ่านที่ผมเขียนอยู่นี่ คุณไม่มีตัวตนหรือไง ถ้าคุณไม่มีตัวตน
คุณจะมานั่งอ่านบล็อกนี้ได้ยังไง
คุณลองให้ใครมาตบหน้าคุณสักทีหนึ่งก็ได้ มันเจ็บไหม ถ้ามันเจ็บ มันก็ต้องมีตัวตน
ในอนัตตลักขณสูตร มีข้อความว่า
ขันธ์ห้า "ไม่ใช่ตัวตนของเรา" ข้อความนี้แหละ
พุทธวิชาการชอบไปแปลว่า "ไม่มีตัวตน"
คำว่า "ไม่ใช่ตัวตนของเรา" ชี้ชัดๆ ว่า
ตัวตนของเรามี
ตัวตนที่มีนั้น ยังต้องถูกปรุงแต่งด้วยบุญ ด้วยบาป
จึงเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
เมื่อตัวตนที่ว่านี้ ปฏิบัติธรรมจนถึงขีดขั้นแล้ว ขันธ์ห้าก็จะเปลี่ยนเป็นธรรมขันธ์
ที่เป็นนิจจัง สุขัง อัตตา
และมีการกล่าวไม่ให้เชื่อเรื่องภูตผี
ดังนั้นจิตจึงต้องเป็นอนัตตา
มันจะไปเกี่ยวกันอย่างไร ไม่ให้เชื่อเรื่องภูตผี
ไปเกี่ยวกับจิตเป็นอนัตตาอย่างไร
ขันธ์ห้าเป็นอนัตตา
จิตเป็นส่วนหนึ่งของขันธ์ห้า เป็นอนัตตาก็ถูกแล้ว
คุณเรียนด้านภาษาศาสน์มา
แต่มันจะมาวัดทางด้านภาษาของพระพุทธเจ้าไม่ได้หรอก
ท่านกล่าวเพื่อให้คนธรรมดาเข้าใจ ไม่จำเป็นต้องคิดลึกขนาดนั้น
คนเรียนภาษาศาสตร์ไม่ใช่คนธรรมดาหรือไง
ผมเป็นคนพิเศษขึ้นมาเพราะผมเรียนภาษาศาสตร์มาหรือไง
คุณโผล่มาจากหลังเขาของเทือกเขาไหนหนอนี่ ...
คัมภีร์ทุกคัมภีร์ไม่ว่าศาสนาใดๆ เป็นภาษา เราก็ต้องเอาภาษาไปวิเคราะห์ ที่นี้ภาษาบาลี ภาษาไทยน่ะ
ไม่ใช่เป็นวิทยาศาสตร์ มันจึงหามาตรฐานเพื่อวิเคราะห์กันยาก
ภาษาศาสตร์ (Linguistics) เป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์
ที่ศึกษาเรื่องภาษา วิชาภาษาศาสตร์จึงมีเครื่องมือ
มีเกณฑ์ที่สามารถวัดกันในทางวิชาการได้
โอย.............กลุ้ม..
|